ตรวจตลาดเก็บตัวอย่างตรวจสารเร่งเนื้อแดง

market meet

          สารเร่งเนื้อแดงที่พบในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด เป็นสารเร่งเนื้อแดงที่มีชื่อทางเคมีว่า ซาลบูทามอล (Salbutamol) และเคลนบิวเทอรอล (Clenbuterol) โดยสารทั้ง 2 ชนิดนี้จัดเป็นสารเคมีในกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ (b-Agonist) ใช้มากในวงการผลิตยาบรรเทาโรคหอบ หืด มีจุดเด่นที่ช่วยขยายหลอดลม และช่วยให้กล้ามเนื้อขยายตัว ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จึงทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูและวัวนำสารเร่งเนื้อแดงไปผสมกับอาหารสัตว์ เพื่อให้เนื้อสัตว์มีปริมาณเนื้อแดงมากขึ้น แทนที่ชั้นไขมันซึ่งเนื้อพวกนี้จะขายไม่ได้ราคา

           หากได้รับสารเร่งเนื้อแดงในระยะยาว และมีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างอยู่ในร่างกาย ผู้บริโภคอาจมีผลข้างเคียงทำให้มีอาการมือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียน ซึ่งเป็นอันตรายมากกับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ และโรคลมชัก

 



 

วีดีโอ ชุดเฉพาะกิจกองสารวัตรและกักกัน ตรวจตลาดเก็บตัวอย่างเนื้อสัตว์

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://health.kapook.com