นำเข้าโคมีชีวิต ต้องปลอดโรคระบาดสัตว์
 New ประชาพิจารณ์ ประชาพิจารณ์การรับฟังความคิดเห็นประกอบการเสนอร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอาหารสุกที่ทำ ประกอบ หรือปรุงจากซากสัตว์เป็นซากสัตว์ ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. .... ดาวน์โหลดฟอร์มประชาพิจารณ์
emovement emovement eprivilege eprivilege mapaqi
emovement mapaqi
mapaqi
mapaqi

banner Cattle

''ปศุสัตว์''ย้ำนำเข้าโคมีชีวิต ต้องปลอดโรคระบาดสัตว์
กรมปศุสัตว์มอบหมายด่านกักกันสัตว์ท่าเรือกรุงเทพ ต้องตรวจสอบการนำเข้าโคจากต่างประเทศอย่างเข้มงวด ย้ำประเทศต้นทางต้องไม่พบโรคระบาดสัตว์ เพื่อสกัดการแพร่กระจายของเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย

banner 01

นายสัตวแพทย์ชาคริต ภูมิศรีจันทร์  หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ท่าเรือกรุงเทพ กล่าวว่า การนำเข้าโคเนื้อจากต่างประเทศโดยทางเรือ ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะโรคของประเทศต้นทาง และได้รับการตรวจรับรองแหล่งผลิตจากกรมปศุสัตว์ก่อนการนำเข้า ซึ่งด่านกักกันสัตว์ท่าเรือกรุงเทพ กรมปศุสัตว์ จะดำเนินการตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางเป็นอันดับแรก เช่น ต้องปลอดจากโรคปากและเท้าเปื่อย หรือโรคอื่นๆ ที่กรมปศุสัตว์กำหนด
ซึ่งข้อมูลได้ยึดถือหลักเกณฑ์จากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organization for Animal Health หรือ OIE) เป็นหลัก โดยผู้ประกอบการที่นำเข้าโคเนื้อส่วนใหญ่มาจากประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา

banner 02

ทุกครั้งการนำเข้าโคสัตวแพทย์จากด่านกักกันสัตว์ฯ มีมาตรการเก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบหาโรคที่กรมปศุสัตว์กำหนด กรณีประเทศต้นทางพบโรคระบาดสัตว์ตาม พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 กรมปศุสัตว์ จะประกาศชะลอนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย เป็นการสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค

สำหรับผู้ประกอบการที่มีความประสงค์นำเข้าโคโดยการขนส่งทางน้ำ ต้องได้รับใบแจ้งอนุมัตินำสัตว์เข้าในราชอาณาจักร หรือกรณีโคเคลื่อนผ่านประเทศไทยไปประเทศที่สาม ต้องได้รับใบแจ้งอนุญาตนำสัตว์ผ่านราชอาณาจักร (แบบ ร.6)

banner 03

และเมื่อโคมาถึงประเทศไทยจะต้องผ่านการตรวจเอกสารและสุขภาพโคจากสัตวแพทย์ของด่านกักกันสัตว์ท่าเรือกรุงเทพ เช่น ดูตา ปาก และกีบ เพื่อหาร่องรอยวิการของโรคปากและเท้าเปื่อย หากร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงจึงออกใบอนุญาตนำสัตว์เข้าในราชอาณาจักร (แบบ ร.7) หรือใบอนุญาตนำสัตว์ผ่านราชอาณาจักร (ร.8) แก่ผู้ประกอบการ เพื่อเคลื่อนย้ายโคจากเรือขึ้นรถบรรทุก โดยก่อนออกจากท่าเรือ เจ้าหน้าที่ ด่านกักกันสัตว์ฯ จะพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรครอบรถทุกคัน ก่อนเข้าสถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์รับรอง

ขั้นตอนการขอเอกสารนำเข้า-สัตว์มีชีวิต ระหว่างประเทศ 

1. ยื่นแบบคำขออนุญาตนำสัตว์ หรือ ซากสัตว์ เข้าราชอาณาจักร (แบบร.1/1) ออนไลน์ ผ่านระบบ e-Movement (https://newemove.dld.go.th/req) สามารถยื่นเรื่องไปที่ด่านกักกันสัตว์ท่าเข้า เช่น ด่านกักกันสัตว์ท่าเรือกรุงเทพ
           
2. ด่านกักกันสัตว์ตรวจสอบสภาวะโรคของประเทศต้นทางเพื่อออกหนังสืออนุมัติในหลักการอนุญาตนำสัตว์เข้าราชอาณาจักรฉบับภาษาอังกฤษ (Import Permit) พร้อมสำเนาเงื่อนไข (Requirement)

3. ผู้ประกอบการนำ Import Permit ส่งไปยังประเทศต้นทางทันที เพื่อจะได้ไปปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไข และแจ้งด่านกักกันสัตว์ฯ ล่วงหน้า 3 วัน ก่อนสัตว์เดินทางมาถึง เพื่อออกใบแจ้งอนุญาตนำสัตว์เข้าในราชอาณาจักร (แบบ ร.6)
           
4. ต้องมีเอกสารหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์ (Health Certificate) เป็นภาษาอังกฤษ จากประเทศต้นทางและต้องตรงตามเงื่อนไขที่กรมปศุสัตว์กำหนดทุกประการ

5. เมื่อเรือนำเข้ามาถึงท่าเรือ สัตวแพทย์จากด่านกักกันสัตว์ฯ เข้าตรวจสอบเอกสารครบถ้วนถูกต้อง และสัตว์มีสุขภาพสมบูรณ์ จึงออกใบอนุญาตนำสัตว์เข้าในราชอาณาจักร (แบบ ร.7) เพื่อเคลื่อนย้ายโคจากเรือขึ้นรถบรรทุก โดยก่อนออกจากท่าเรือเจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ฯ จะพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรครอบรถบรรทุกสัตว์อย่างชุ่มโชกทุกคัน
           
6. สัตว์ที่นำเข้าราชอาณาจักร ด่านกักกันสัตว์จะเก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการ ณ สถานกักกันสัตว์ที่กรมปศุสัตว์รับรอง รอผลการตรวจ และชำระค่าธรรมเนียมนำเข้าราชอาณาจักร เมื่อทดสอบโรคผ่านจึงจะอนุญาตให้ผู้ประกอบการนำสัตว์ไปใช้ประโยชน์ตามที่ได้แจ้งขออนุญาตต่อไป

banner 04

นายสัตวแพทย์ชาคริต กล่าวว่า แม้ว่าประเทศไทยยังคงนำเข้าโคเนื้อ ขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์มีนโยบายส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงโคเนื้อ เนื่องจากประเทศไทยเป็นที่ยอมรับของหลายประเทศในการผลิตโคเนื้อที่ได้มาตรฐาน คุณภาพดีเพื่อใช้บริโภคในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น สปป.ลาว และเวียดนาม นอกจากนี้ยังวางแผนการส่งออกโดยเปิดตลาดใหม่ที่ประเทศจีนอีกด้วย
 banner 05


ทั้งนี้ การนำเข้าโคเนื้อและการส่งออกไปยังต่างประเทศ กรมปศุสัตว์ ด่านกักกันสัตว์ท่าเรือกรุงเทพ    จึงต้องทำงานเข้มงวดโดยโคต้องผ่านการทดสอบเชื้อโรคระบาดสัตว์ การเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เพื่อให้โคที่นำเข้ามีคุณภาพ ควบคู่กับการส่งออกที่ได้มาตรฐาน ถูกสุขอนามัย ปราศจากโรค และปลอดภัยตอบโจทย์ผู้บริโภค

วีดีโอ การนำเข้าโคเนื้อ


ทั้งนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ด่านกักกันสัตว์ท่าเรือกรุงเทพ
เปิดทำการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 น. ถึง 16.30 น. โทร 02 249 1221
อีเมลล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ที่มาข่าวเดลินิวส์ : อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์  จันทร์ที่ 29 มิถุนายน 2563