สกัดจับรถบรรทุกขน เนื้อควายเถื่อน 29 ตัน ต้นทางมาจากอินเดีย ตรวจสอบพบปลอมแปลงใบอนุญาต
 New ประชาพิจารณ์ ประชาพิจารณ์การรับฟังความคิดเห็นประกอบการเสนอร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอาหารสุกที่ทำ ประกอบ หรือปรุงจากซากสัตว์เป็นซากสัตว์ ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. .... ดาวน์โหลดฟอร์มประชาพิจารณ์
emovement emovement eprivilege eprivilege mapaqi
emovement mapaqi
mapaqi
mapaqi

albumBuff03 Jun 66

สกัดจับรถบรรทุกขน เนื้อควายเถื่อน 29 ตัน ต้นทางมาจากอินเดีย ตรวจสอบพบปลอมแปลงใบอนุญาต ดำเนินคดีทั้ง พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ และใช้เอกสารราชการปลอม

วันที่ 3 มิ.ย.2566

ด่านปศุสัตว์มหาสารคาม ร่วมกับตำรวจทางหลวงบรบือ และศุลกากรมุกดาหาร สกัดจับรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนเนื้อกระบือที่ต้องสงสัยลักลอบนำเข้า น้ำหนักมากถึง 29 ตัน นายสัตวแพทย์ สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ด่านกักกันสัตว์มหาสารคามได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงบรบือว่า จะมีการลักลอบขนย้ายซากสัตว์ ประเภทเนื้อกระบือ โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 23 ด่านกักกันสัตว์มหาสารคาม จึงจัดตั้งจุดสกัดร่วมกับตำรวจทางหลวงบรบือและเจ้าหน้าที่ศุลกากรมุกดาหาร ต่อมาพบรถบรรทุก 22 ล้อต้องสงสัย ทะเบียนจังหวัดสมุทรสาคร เดินทางมาจากอำเภอเมืองมหาสารคาม มุ่งหน้าสู่ อบรบือ จมหาสารคาม ตำรวจได้ส่งสัญญาณหยุดรถ เพื่อตรวจสอบรถบรรทุกคันดังกล่าว พร้อมทั้งแสดงตัวเพื่อขอตรวจค้นสิ่งที่บรรทุกมา”

ตรวจสอบภายในรถบรรทุก พบสินค้าเนื้อกระบือแช่แข็ง ยี่ห้อ Allana ซึ่งมีต้นทางจากประเทศอินเดียมากถึง 29,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นซากสัตว์ที่ไม่อนุญาตให้นำเข้ามาภายในราชอาณาจักร ผู้ขับรถได้แสดงเอกสารใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ที่ออกให้โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมุกดาหาร เพื่อเคลื่อนย้ายจากจังหวัดมุกดาหารไปยังจังหวัดนนทบุรี เจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์มหาสารคามได้ตรวจสอบเอกสารไปยังต้นทางที่ระบุ พบว่า เป็นเอกสารที่ถูกปลอมแปลง

คนขับรถบรรทุก ให้การว่า เป็นพนักงานบริษัทขนส่งซึ่งเป็นเจ้าของรถคันนี้ ได้ค่าจ้างครั้งละ 3,500 บาท ค่าจ้างจะจ่ายให้หลังจากเสร็จงานและเงินมีเดือนต่างหาก โดยขับรถมาจากแหลมฉบังแล้วมาจอดทิ้งรถพ่วงไว้บริเวณใกล้ด่านมุกดาหาร เมื่อถึงเวลารับสินค้าจะได้รับแจ้งจากผู้ขายให้ไปรับรถพ่วงพร้อมสินค้า

เจ้าหน้าที่จึงแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ขับรถบรรทุก ดังนี้

  • 1. มาตรา 31 ผู้ใดนำเข้าส่งออกหรือนำผ่าน ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายทุกครั้งที่นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านราชอาณาจักร บทกำหนดโทษ มาตรา 68 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • 2. มาตรา 34 ผู้ใดนำสัตว์หรือซากสัตว์ไปยังท้องที่จังหวัดอื่น ต้องได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ประจำท้องที่ต้นทาง บทกำหนดโทษมาตรา 71 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    รวมถึงแจ้งข้อกล่าวหาใช้เอกสารราชการปลอมอีกด้วย


ภาพกิจกรรม แหล่งข่าว :