การวิเคราะห์เครือข่ายการเคลื่อนย้ายโค กระบือในพื้นที่ระดับตำบลของประเทศไทย

การวิเคราะห์เครือข่ายการเคลื่อนย้ายโค กระบือในพื้นที่ระดับตำบลของประเทศไทย

เอกสารทางวิชาการ


เรื่องที่ 1


การวิเคราะห์เครือข่ายการเคลื่อนย้ายโค กระบือในพื้นที่ระดับตำบลของประเทศไทย

 

โดย
นายณัฐชัย วรสุทธิ์
นางนพวรรณ บัวมีธูป

 

เลขทะเบียนวิชาการเลขที่ : 60 (2)-0120-110
สถานที่ดำเนินการ : กองสารวัตรและกักกัน
ระยะเวลาดำเนินการ : 1 มกราคม 2556-31 ธันวาคม 2560
การเผยแพร่ : เว็บไซต์ กองสารวัตรและกักกัน
http://aqi.dld.go.th



 บทคัดย่อ


การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ retrospective โดยใช้ฐานข้อมูลการออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Movement) ของกรมปศุสัตว์ ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2559 จำนวน 256,867 ระเบียน และ นำข้อมูลการเคลื่อนย้ายมาสร้างเป็นเครือข่าย โดยกำหนดให้ตำบลของประเทศไทยเป็นหน่วยย่อยในการศึกษา (Node) และ การออกใบอนุญาตการเคลื่อนย้ายสัตว์ เป็นเส้นเชื่อมระหว่างหน่วยย่อย (Tie) ผลการศึกษาพบว่า เครือข่ายการเคลื่อนย้ายโค (รวม 5 ปี) มีค่าพารามิเตอร์ระดับเครือข่ายที่สำคัญได้แก่ ค่า in-degree centralization ค่า out degree centralization ค่า maximum k-core เท่ากับ 0.040, 0.095, 23 ตามลำดับ และ เครือข่ายการเคลื่อนย้ายกระบือ (รวม 5 ปี) มีค่า in-degreecentralization ค่า out degree centralization ค่า maximum k-core เท่ากับ 0.037, 0.082, 13 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า เครือข่ายการเคลื่อนย้ายทั้งโคและกระบือ มีบางส่วนของเครือข่าย มีการกระจายตัวของdegree ใน รูปแบบ power law ซึ่งเป็นลักษณะโครงสร้างของเครือข่ายชนิด scale free จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเครือข่ายการเคลื่อนย้าย โค กระบือ มีความใกล้เคียงกับเครือข่ายชนิด scale free โดยในทางระบาดวิทยา หากมีการเกิดโรคระบาดภายในเครือข่ายที่มีลักษณะโครงสร้างดังกล่าว จะทำให้มีโอกาสที่จะเกดิการแพร่กระจายโรคในวงกว้างได้ ทั้งนี้มาตรการในการป้องกัน และ ควบคุมโรคระบาด ควรให้ความสำคัญในnode ที่มี degree สูง จะทำให้การป้องกัน และควบคุมโรคมีประสิทธิภาพ สามารถลดขนาดของการระบาดได้

 

คำสำคัญ : การวิเคราะห์เครือข่าย การเคลื่อนย้ายกระบือและโค

 

 

downdisk  download เอกสารวิชาการ : การวิเคราะห์เครือข่ายการเคลื่อนย้ายกระบือ และ โคในพื้นที่ระดับตำบลของประเทศไทย