โครงการรณรงค์เร่งรัดการทำฟาร์มปลอดโรคในแพะ จังหวัดสุพรรณบุรี

โครงการรณรงค์เร่งรัดการทำฟาร์มปลอดโรคในแพะ จังหวัดสุพรรณบุรี

 sheep2516

โครงการรณรงค์เร่งรัดการทำฟาร์มปลอดโรคในแพะ จังหวัดสุพรรณบุรี 

อำเภอ จำนวน (ฟาร์ม)จำนวน (ตัว)
 แพะ  แกะ
 เดิมบางนางบวช 4 176 -
 ด่านช้าง 12 297 13
หนองหญ้าไซ 13 311 31
ศรีประจันต์ 10 306 -
ดอนเจดีย์ 5 177 10
สามชุก 5 266 -
บางปลาม้า 4 131 -
สองพี่น้อง 12 498 -
เมืองสุพรรณบุรี 5 204 -
อู่ทอง 31 511 52
รวมทั้งหมด 101 2,877 106



         โรคบรูเซลโลซิสหรือที่เกษตรกรนิยมเรียกว่า "โรคแท้ง" "โรคแท้งติดติดต่อ" เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่สำคัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น โค กระบือ สุกร แพะ ม้า สุนัข เป็นต้น และติดต่อสู่คนได้ ลักษณะที่ควรสังเกตของโรคนี้ คือ สัตว์จะแท้งลูกในช่วงท้ายของการตั้งท้อง และอัตราการผสมติดในฝูงจะต่ำ
สาเหตุและการแพร่ของโรค

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ บรูเซลล่า (Brucella spp.) พบมีการแพร่ระบาดในทุกประเทศของโลก โดยเฉพาะโคนม ยังมีความสำคัญในด้านสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย เนื่องจากโรคนี้สามารถติดต่อถึงคนได้เรียกว่า อันดูแลนท์ ฟีเวอร์ (Undulant fever) พบว่าโคทุกอายุสามารถติดเชื้อนี้ได้แต่ในโคสาวแม่โค โคตั้งท้องและโคเพศผู้ที่โตเต็มวัย สามารถติดเชื้อนี้ได้ง่ายกว่าลูกโค โคส่วนมากจะติดเชื้อ โดยการกินอาหาร น้ำที่มีเชื้อปะปน ซึ่งเชื้อนี้จะออกมากับน้ำปัสสาวะ น้ำนม น้ำคร่ำ ของโคที่เป็นโรค หรืออาจติดเชื้อได้โดยการสัมผัสโดยตรงเชื้อเข้าทางผิวหนัง เยื่อชุ่ม โดยการหายใจ การผสมพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นได้น้อยมาก

เกิดเชื้อแบคทีเรียก่อโรค คือ Brucella melitensis สัตว์ได้รับเชื้อ โรคจากสารคัดหลั่ง รกและน้ำเชื้อ โดยเชื้อเข้าทางปาก จมูกหรือตา ทางผิวหนังฉีกขาดหรือการผสมพันธุ์ เชื้อจะอยู่ใน กระแสเลือดในระยะ 10-20 วัน หลังจากได้รับเชื้อและอาจจะอยู่นาน 30-45 วัน สัตว์จะมีการ ตอบสนองทางซีรัมวิทยา โดยจะตรวจพบแอนติบอดีในซีรัมในระยะ 2-4 สัปดาห์และค่อยๆลดลงในบางครั้ง อาจจะไม่พบแอนติบอดี ในสัตว์ที่ตั้งท้องหรือพบแอนติบอดีในตัวสัตว์ไปจนถึงระยะแท้งลูก หรือคลอดลูก สัตว์อาจมีการแท้งลูกหรือไม่แท้งลูกก็ได้ขึ้นกับปริมาณ เชื้อที่มีอยู่ในร่างกาย สัตว์ที่อยู่ในระยะหยุดให้นมจะพบการตอบสนอง ในระดับที่ต่ำหรืออาจจะไม่พบการตอบสนองทางซีรัมวิทยา ปรากฎการณ์ เช่นนี้จะเป็นจุดอันตรายต่อการควบคุมและป้องกันโรค เพราะสัตว์เหล่านี้จะเป็นตัวอมโรคและแพร่โรค ซึ่งในระยะต่อมา จึงจะตรวจพบแอนติบอดีต่อโรคแพะ-แกะที่ติดโรคพบประมาณ 60-84% แท้งลูกเฉพาะการตั้งท้องแรกเท่านั้นแต่สามารถจะปล่อยเชื้อ ออกมาพร้อมกับ สารคัดหลั่ง รกในระยะคลอดลูกได้
ในแพะที่เป็นโรคบรูเซลโลซิสมีโอกาสเกิดจากเชื้อ B. abortus ได้ถ้าเลี้ยงแพะร่วมกับโคที่เป็นโรคนี้ แต่โอกาสค่อนข้างน้อย และมักไม่แสดงอาการ

การป้องกันโรคบรูเซลโลซิสในฟาร์มแพะ-แกะ
1. ไม่นำแพะที่เป็นโรคบรูเซลโลซิสหรือแพะที่มาจากฝูงที่เป็น โรคหรือมาจากฝูงที่ไม่เคยทดสอบโรคเข้ามาเลี้ยงในฟาร์ม
2. ทดสอบโรคบรูเซลโลซิสประจำปีอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
3. กรณีที่พบสัตว์แท้งลูกให้เก็บลูกสัตว์ที่แท้ง รกส่งตรวจเพื่อหา สาเหตุของโรค
4. ปรับปรุงระบบสุขาภิบาลให้เหมาะสมในการป้องกันโรค
5. ใส่ถุงมือป้องกันการติดเชื้อโรคกรณีที่ต้องสัมผัสกับรก น้ำคร่ำหรือสิ่งคัดหลั่งจากระบบสืบพันธุ์
6. ไม่มีการใช้วัคซีนโรคบรูเซลโลซิสในแพะ แกะ

การควบคุมโรคในฟาร์มแพะ-แกะที่ติดโรคบรูเซลโลซิส
1. ไม่ควรเคลื่อนย้ายแพะ แกะ เข้า-ออกฟาร์มจนกว่าจะมั่นใจว่า ไม่มีแพะที่เป็นโรคอยู่ในฝูง
2. กำจัดแพะที่เป็นโรค
- กรณีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคในฝูงต่ำ ให้กำจัดตัวที่เป็นโรค ออกจากฝูงและตัวที่เหลือภายในฟาร์มให้ทดสอบโรคทุก 1-2 เดือน ติดต่อกันเพื่อกำจัดแพะที่ให้ผลบวกทางซีรัมวิทยาออกไปจากฝูงจน กระทั่งไม่พบสัตว์ที่ให้ผลบวกทางซีรัมวิทยาต่อโรคบรูเซลโลซิสในฝูง ติดต่อกัน 3 ครั้ง
- กรณีเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคให้ผลบวกทางซีรั่มวิทยาที่มี เปอร์เซ็นต์สูงให้กำจัดแพะทั้งฝูง
3. ทำลายเชื้อโรคในคอกแพะภายหลังกำจัดแพะที่เป็นโรค ออกจากฝูง
4. ทำลายรก น้ำคร่ำที่ถูกขับออกมาในขณะที่แพะคลอด หรือ แท้ง โดยการฝังทันทีที่เห็นและทำลายเชื้อโรค
5. ไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กเข้าในคอกแพะที่เป็นโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่สัตว์แท้งลูก
6. เกษตรกรผู้ที่สัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรค หรือสงสัยให้รีบปรึกษา แพทย์และแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อทดสอบโรคในฟาร์ม

กิจกรรมควบคุมโรคบรูเซลโลซิส (Brucellosis) ในฟาร์มแพะ
ข้าราชการบรรจุใหม่ (นายสัตวแพทย์ นักวิชาการสัตวบาล และเจ้าพนักงานสัตวบาล)


วีดีโอการดำเนินงาน