การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมการเคลื่อนย้ายสุกรของจังหวัดน่าน
 New ประชาพิจารณ์ ประชาพิจารณ์การรับฟังความคิดเห็นประกอบการเสนอร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอาหารสุกที่ทำ ประกอบ หรือปรุงจากซากสัตว์เป็นซากสัตว์ ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. .... ดาวน์โหลดฟอร์มประชาพิจารณ์

 เอกสารวิชาการ


เรื่องที่ 1

การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมการเคลื่อนย้ายสุกรของจังหวัดน่าน

Social Network Analysis of Pig Movement in Nan

(แก้ไขตามมติคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564)


โดย

สุปรียา พรมศิลา

อนุรักษ์ ม่วงทิม

  

เลขทะเบียนวิชาการเลขที่
สถานที่ดำเนินการ 
ระยะเวลาดำเนินการ 

๖๓(๒)-๐๑๒๐-๐๑๐
ด่านกักกันสัตว์น่าน
มกราคม 2560-ธันวาคม 2562

การเผยแพร่ เว็บไซต์  กองสารวัตรและกักกัน
http://aqi.dld.go.th

 

 


 

 

การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมการเคลื่อนย้ายสุกรของจังหวัดน่าน


สุปรียา พรมศิลา 1  อนุรักษ์ ม่วงทิม 2 



บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม โดยใช้ฐานข้อมูลการออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าออกจังหวัดน่านผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Movement) ของกรมปศุสัตว์ในปี 2559-2561 กําหนดหน่วย การศึกษา (unit of interest) เป็นพื้นที่อําเภอต้นทางและปลายทางและกําหนดให้การเคลื่อนย่ายสัตว์ตาม ใบอนุญาตจากฐานข้อมูล e-movement เป็นเส้นความสัมพันธ์ (tie) ผลการศึกษาพบว่าในปี พ.ศ. 2559-2561 มี จํานวนการเคลื่อนย้ายสุกรมีชีวิตเข้า-ออกจังหวัดน่าน รวมจํานวน 5,705 ครั้ง จํานวนสัตว์ทั้งสิ้น 346,565 ตัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าโรงฆ่าเป็นสัดส่วนมากที่สุด การวิเคราะห์เครือข่ายระดับหน่วยย่อย (analysis of individual node) มีจํานวน node ที่นํามาวิเคราะห์ จํานวน 92, 97 และ 87 nodes ตามลําดับและมีเส้น ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง node จํานวน 145, 143 และ 128 ties ตามลําดับ เป็นลักษณะเครือข่ายแบบมี ทิศทาง (directed network) การวิเคราะห์ข้อมูลระดับเครือขาย (analysis of a whole network) พบว่า มี โครงร่างเครือข่าย (network topology) เป็นแบบ random ลักษณะเป็นแบบ scale free network มีเพียงบาง node เท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับ node อื่นในเครือข่ายเป็นจํานวนมาก เมื่อพิจารณาค่าความเป็นศูนย์กลางใน ภาพรวมของทั้งเครือข่าย (network centralization) พบว่า network centralization ของ out-degree ซึ่ง น้อยกว่าของ in-degree แสดงให้เห็นว่าในภาพรวมของเครือข่าย node ต่าง ๆ มีโอกาสรับมากกว่าส่งออก เล็กน้อย หรือหากมองในแง่ของการแพร่ระบาดของโรค เครือข่ายนี้มีแนวโน้มในการรับโรคที่สามารถติดต่อผ่าน การเคลื่อนย้ายสุกรมากกว่าแพร่โรค ดังนั้นในแง่ของการเกิดโรคระบาด การควบคุมโรคหรือการวางมาตรการใน การป้องกันโรคควรมุ่งเน้นไปที่ node ที่เป็น cut point และมีค่า betweeness สูงเป็นอันดับแรกได้แก่อําเภอ เวียงสา, เมืองน่าน และภูเพียง จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

คําสําคัญ : วิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมเคลื่อนย้ายสุกร จังหวัดน่าน


ทะเบียนวิชาการเลขที่ ๖๓(๒)-๐๑๒๐-๐๑๐
1 ด่านกักกันสัตว์น่าน กองสารวัตรและกักกัน
2 ด่านกักกันสัตว์กาญจนบุรี กองสารวัตรและกักกัน

 

 

 

downdisk  เอกสารวิชาการ : การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมการเคลื่อนย้ายสุกรของจังหวัดน่าน