กลุ่มด่านกักกันสัตว์ที่ 3

กลุ่มด่านกักกันสัตว์ที่ 3

GGroup3

คำสั่งกรมปศุสัตว์ ที่ 512/2566 เรื่องแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มด่านกักกันสัตว์
โดยที่เป็นการเห็นสมควรปรับปรุงคำสั่งกรมปศุสัตว์ เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มด่านกักกันสัตว์เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศตลอดจนบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงกำหนดยุทธศาสตร์กลุ่มด่านกักกันสัตว์ตามลักษณธทางภูมิศาสตร์ของประเทศเป็นกลุ่มชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มด่านชายทะเล และกล่มด่านภายในประเทศ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานประสานราชการของด่านกักกันสัตว์ภายในกลุ่มและราชการส่วนกลาง

กลุ่มด่านกักกันสัตว์ที่ 3

  • ด่านกักกันสัตว์นครราชสีมา (เป็นหัวหน้ากลุ่มด่านกักกันสัตว์ที่ 3)
  • ด่านกักกันสัตว์มหาสารคาม
  • ด่านกักกันสัตว์ยโสธร
  • ด่านกักกันสัตว์อุดรธานี
  • ด่านกักกันสัตว์ขอนแก่น

ขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ

  • ด่านกักกันสัตว์นครราชสีมา มีอาณาเขตตามอำเภอทุกอำเภอของจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดชัยภูมิ
  • ด่านกักกันสัตว์ยโสธร มีอาณาเขตตามอำเภอทุกอำเภอของจังหวัดด่านกักกันสัตว์ยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ
  • ด่านกักกันสัตว์อุดรธานี มีอาณาเขตตามเขตอําเภอทุกอําเภอของจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสกลน
  • ด่านกักกันสัตว์ขอนแก่น มีอาณาเขตตามเขตอําเภอทุกอําเภอของจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดหนองบัวลําภู
  • ด่านกักกันสัตว์มหาสารคาม มีอาณาเขตตามเขตอําเภอทุกอําเภอของจังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดร้อยเอ็ด

หน้าที่รับผิดชอบ
1. กำกับ ดูแลบังคับใช้ ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
    1.1. พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558
    1.2 พระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ.2533
    1.3 พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559
    1.4 พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2558
    1.5 พระราชบัญญัติวิชาชีพสัตวแพทย์ พ.ศ.2545
    1.6 พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557
    1.7 พระราชบัญญัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. กำกับ ดูแล รับผิดชอบงานด่านกักสัตว์ภายในประเทศ และด่านกักสัตว์ระหว่างประเทศ
3. ประสานงานและให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับด้านการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ ซากสัตว์ และสินค้า ปศุสัตว์ของกรมปศุสัตว์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4. ศึกษา วิเคราะห์ เกี่ยวกับการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์ ซากสัตว์และสินค้าปศุสัตว์ รวมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการ เคลื่อนย้ายสัตว์ ซากสัตว์ และสินค้าปศุสัตว์
5. วิเคราะห์ สรุป แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมแนวทางการปฏิบัติงานภายใต้ พรบ. ที่เกี่ยวข้อง
6. ปฏิบัติงานและให้คำแนะนำในการบังคับใช้กฎหมายแก่หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย