ปราบปรามขบวนการเนื้อเถื่อนอย่างเข้มงวด เพื่อปิดสวิตช์การทำลายกลไกราคาสินค้าในประเทศ

ปราบปรามขบวนการเนื้อเถื่อนอย่างเข้มงวด เพื่อปิดสวิตช์การทำลายกลไกราคาสินค้าในประเทศ

DLDpolicy2566

กองสารวัตรและกักกัน ขานรับนโยบาย ‘รมว.ธรรมนัส’ ปราบปรามขบวนการเนื้อเถื่อนอย่างเข้มงวด เพื่อปิดสวิตช์การทำลายกลไกราคาสินค้าในประเทศ
----------------------------------------------------------
วันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2566

นายชุติพนธ์ ศิริมงคลรัตน์ ผู้อำนวยการ กองสารวัตรและกักกัน ร่วมงานขับเคลื่อนยุทธการปราบปรามการลักลอบนำเข้า ส่งออก สินค้าเกษตรผิดกฎหมาย โดยมีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานโดยเป็นการจัดงานระหว่างหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงาน อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามนโยบายกระทรวงเกษตรที่ประกาศสงครามกับสินค้าเกษตรเถื่อน มุ่งปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีประกาศคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารแก้ไขปัญหาการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรที่ผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 เพื่อแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน ผลผลิตตกต่ำ ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ด้านพืช เช่น ยางพารา ข้าว ข้าวโพด หอม กระเทียม กาแฟ ปาล์ม และมะพร้าว เป็นต้น ด้านปศุสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว กระบือ เป็ด ไก่ และเครื่องในสัตว์ เป็นต้น ด้านประมง เช่น สัตว์น้ำสวยงามมีชีวิต ปะการัง ดาวทะเล จระเข้ และผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นต้น รวมถึงการหลอกลวง สินค้าผิดกฎหมายต่างๆ ซึ่งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีกฎหมายที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ แต่ไม่สามารถดำเนินการป้องกัน ปราบปรามได้อย่างครอบคลุมและเพียงพอ จึงมีการบูรณาการ เพื่อแก้ไขปัญหา ด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวของ ประกอบด้วย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล) หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กรมศุลกากร กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาการนำเข้า ส่งออก ช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ในการนี้ได้รายงานผลการปฏิบัติงานของกรมปศุสัตว์ ในปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันของกรมปศุสัตว์
โดยกองสารวัตรและกักกัน ซึ่งประกอบด้วย 59 ด่านกักกันสัตว์ และ 47 จุดตรวจทั่วประเทศ ได้สนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และกรมศุลกากร ดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย กรณีการลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ ภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 จำนวนทั้งสิ้น 480 ครั้ง เป็นซากสัตว์ของกลางทั้งหมดกว่า 2.2 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 318 ล้านบาท และได้ดำเนินการทำลายซากสัตว์ของกลางตามระเบียบของกรมปศุสัตว์อย่างต่อเนื่อง กรณีการลักลอบนำเข้าซากสุกร 161 ตู้ ปริมาณรวม 4.3 ล้านกิโลกรัม มูลค่ากว่า 567 ล้านบาท ที่มีการตรวจพบตู้ตกค้างที่ด่านท่าเรือฯ แหลมฉบัง ขณะนี้ เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ได้จัดเตรียมสถานที่สำหรับการจัดพิธีการทำลายซาก ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สระแก้ว ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว โดยอยู่ในขั้นตอนรอส่งมอบของกลาง เพื่อจัดพิธีการทำลายซาก และกองสารวัตรและกักกันได้จัดแสดงนิทรรศการนำเสนอการปฏิบัติงานของสุนัขดมกลิ่น(ทีมสารวัตรบีเกิล) และสารวัตรปศุสัตว์ไซเบอร์ (DLD Cyber Unit : DCU) โดยนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นผู้นำเสนอการปฏิบัติงานและผลงาน เพื่อรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ทราบ
ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และถ่ายทอดสดการแถลงข่าวผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์ ผ่าน Application Zoom และ
ทาง Facebook Live กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
----------------------------------------------------------
ข้อมูล: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรียบเรียงข่าว​ : กองสารวัตรและกักกัน กรมปศุสัตว์