การเก็บตัวอย่างทดสอบโรคม้าทางห้องปฏิบัติการหลังนำเข้า

การเก็บตัวอย่างทดสอบโรคม้าทางห้องปฏิบัติการหลังนำเข้า

horse IMG 0022

มาตรการสำหรับส่งออกม้าเพื่อการแข่งขันจากประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซีย และนำม้ากลับประเทศไทยหลังจบการแข่งขัน ใช้สำหรับการแข่งขันครั้งนี้เท่านั้น โดยการแข่งขันรายการต่อไปให้ดำเนินการตาม ข้อกำหนดการนำเข้าเพื่อการแข่งขันเข้าสู่ราชอาณาจักรไทย 

มาตรการก่อนการส่งออกม้าไปมาเลเซีย
1. กักม้าก่อนการส่งงออก 14 วัน โดยด่านกักกันสัตว์สระบุรี ออกบันทึกสั่งกักกักม้าในสถานกักสัตว์เพื่อการ ส่งออกที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ กตามเงื่อนไขนำเข้าม้าแข่งประเทศมาเลเซีย
2. ช่วงเวลากักสัตว์ม้าต้องได้รับการทดสอบโรคทางห้องปฏิบัติการ 8 โรค ได้แก่ Strangle, EIA, Glanders, Piroplasmosis, Surra ซึ่งเป็นโรคที่มาเลเซียกำหนด กรมปศุสัตว์เพิ่มการตรวจโรค CEM และ Dourine ก่อนการ
ส่งออก และเพิ่มการตรวจโรค AHS ประกอบการเคลื่อนย้ายม้าในประเทศ
3. เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์สระบุรีตรวจสุขภาพสัตว์ และรับรองพื้นที่สถานกักสัตว์ ต้องไม่มีรายงานการระบาดของโรค Equine Infectious, Anemia, Equine Encephalomyelitis (Eastern/Western), West Nile Virus,
Scabies, Anthrax, Glanders, Dourine, Surra, Strangles, Epizootic Lymphangitis, Ulcerative Lymphangitis, Equine Rhinopneumonitis, Equine Viral Arteritis, Equine Piroplasmosis, Hendra Virus, Equine Influenza หรือ โรคที่เป็น Notifiable disease อื่นๆ ในช่วง 6 เดือนก่อนการส่งออก และ ม้า แข่งต้องอยู่ในพื้นที่สถานกักดังกล่าวเป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยสัตว์มีสุขภาพดี
4. ม้าได้รับการถ่ายพยาธิและกำจัดปรสิตภายนอก ไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนการส่งออก
5. ม้าต้องได้รับการฉีดวัคซีนสำหรับโรคที่กำหนด เช่น Equine Influenza และ Japanese B Encephalitis ภายในระยะเวลาที่กำหนด
6. ยานพาหนะที่ใช้ขนส่งต้องผ่านการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อก่อนขนส่ง
7. เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์สระบุรีออกใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ในราชอาณาจักร ร.๔
8. ด่านกักกันสัตว์ชุมพร และด่านกักกันสัตว์สงขลา เตรียมสถานที่เพื่อรองรับช่วงม้าพักค้างคืน
9. ด่านกักกันสัตว์นราธิวาส ออกใบอนุญาตส่งออก ร.9 และลงนาม Health Certificate ตามเงื่อนไขนำเข้าม้าแข่งมาเลเซีย

ระหว่างกักที่ประเทศมาเลเซีย
2. ทดสอบโรคทางห้องปฏิบัติการ จำนวน 7 6 โรค ตามข้อกำหนดการนำเข้าของประเทศไทย ได้แก่ EIA, EVA, Glanders, Piroplasmosis, Dourine, Surra,, EHV1-EHV4
ยกเว้น โรค Contagious equine metritis (CEM) ไม่ตรวจในม้าแข่งในมาเลเซีย
3. ผ่อนผันให้ใช้วิธีการทดสอบตามที่มาเลเซียเสนอ (บางโรคใช้วิธีทดสอบไม่ตรงที่ไทยกำหนด เช่น Glanders, Piroplasmosis, Dourine, Surra โดยโรคดังกล่าวมีการตรวจก่อนส่งออกจากไทยครบทุกโรค มีผลเป็นลบและ
หลังจากนำกลับมาประเทศไทยจะมีการตรวจอีกครั้งเพื่อยืนยันผลการทดสอบจากมาเลเซีย)

กลับเข้าสู่ประเทศไทย
1. ผู้นำเข้าแนบ Health Certificate และผลการทดสอบโรคทางห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก DVS
2. เจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์นราธิวาสออกเอกสารนำเข้า และใบเคลื่อนย้ายในประเทศ
3. การเก็บตัวอย่างทดสอบโรคทางห้องปฏิบัติการหลังนำเข้า
    - D1 หลังจากม้าเข้าประเทศไทย ณ ด่านกักกันสัตว์ท่าเข้า ให้เจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์นราธิวาส เก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการครบทุก โดยใช้ตามวิธีการที่ตรงกับข้อกำหนดการนำเข้าทุกรายการ จำนวน 8 โรค โดยให้ใช้ ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับ (Approved laboratory) เช่น สสช. ส่งตรวจ7 โรค (EIA , EVA, CEM, Glanders,
Piroplasmosis, surra. EHV1-4 และ CVRL ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่งตรวจ 1 โรค (Dourine) - D21 หลังจากม้าเข้าประเทศไทย (D19 ของการกัก) ณ สถานกักภูกอดฟ้า ให้ด่านสระบุรี และเจ้าหน้าที่ ปศจ.สระบุรี เข้าเก็บตัวอย่างซ้ำทุกโรคอีกครั้งหลังการกักสัตว์ ส่งตรวจสสช. ยกเว้น โรค Dourine ที่ตรวจเฉพาะ D1 เท่านั้น
4. การขนส่งสัตว์ ให้ม้าอยู่ในมุ้งตลอดการขนส่ง โดยรถต้องมีมุ้ง และด่านฯที่พักสัตว์ระหว่างทาง ณ ด่านกักกันสัตว์
สงขลา (D1) และด่านกักกันสัตว์ชุมพร(D2) ต้องมีการกางมุ้ง
5. กักหลังการนำเข้า ไม่น้อยกว่า 30 วัน
- สำนักงาน ปศจ. สระบุรี ตรวจรับสัตว์ปลายทาง และให้ด่านกักกันสัตว์สระบุรีออกบันทึกสั่งกักสัตว์ โดยจะถอนสั่งกักได้เมื่อผลการทดสอบโรคทางห้องปฏิบัติการเป็นลบแล้วเท่านั้น
- ให้กักอยู่ในสถานกักที่มีมุ้งตาข่ายจนกว่าจะถอนสั่งกัก

หมายเหตุ
1. เจ้าของม้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
3. หากสัตว์ป่วยหรือมีข้อสงสัยว่าป่วยให้ดำเนินการทำลายตามระเบียบกรมปศุสัตว์ โดยให้เจ้าของม้าทำหนังสือยินยอมให้ทำลายสัตว์ หากพบว่าสัตว์ป่วยหรือมีผลการทดสอบโรคทางห้องปฏิบัติการเป็นบวก โดยให้ยื่นพร้อมเอกสารขอนำเข้า