การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพของการนำเข้าโรควัวบ้า (Bovine spongiform encephalopathy (BSE)) ในเนื้อและเครื่องในจากโคที่นำเข้าจากประเทศเบลเยี่ยม

การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพของการนำเข้าโรควัวบ้า (Bovine spongiform encephalopathy (BSE))

ในเนื้อและเครื่องในจากโคที่นำเข้าจากประเทศเบลเยี่ยม

ลมัย นามมงคล 1   นวิยา รักสุภาพ 1

 

บทคัดย่อ

          ประเทศเบลเยี่ยม เป็นประเทศที่ต้องการส่งออกเนื้อและเครื่องในโคมายังประเทศไทย ถึงแม้ว่าเบลเยี่ยมมีสถานะความเสี่ยงโรควัวบ้าขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) อยู่ในกลุ่ม Negligible risk แต่อย่างไรก็ตามจากข้อมูลที่ได้รับจากรัฐบาลเบลเยี่ยมพบว่า เบลเยี่ยมมีการนำเข้าโคมีชีวิตจากประเทศฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งมีสถานะโรควัวบ้าอยู่ในกลุ่ม Controlled risk ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเนื้อเยื่อที่มีความเสี่ยงจำเพาะต่อโรควัวบ้า (Specified Risk Material (SRM)) ในกระบวนการผลิตเนื้อและเครื่องในโคจากโคนำเข้าจากประเทศที่มีสถานะความเสี่ยงโรควัวบ้าสูงกว่าเข้าโรงฆ่า จุดประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการนำเข้าเนื้อและเครื่องในโคที่อาจปนเปื้อนโรควัวบ้าจากประเทศเบลเยี่ยม จากผลการประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพที่โอกาสในการนำเข้าเชื้อโรควัวบ้าผ่านทางเนื้อและเครื่องในโคสาหรับการบริโภค จากประเทศเบลเยี่ยม พบว่าหากเงื่อนไขการนำเข้าเนื้อและเครื่องในโคจากประเทศเบลเยี่ยมไม่มีการระบุอายุโคที่เข้าโรงฆ่าซึ่งนาเข้าจากประเทศในกลุ่ม Controlled risk และUndetermined risk อยู่ในระดับ High ความไม่แน่นอนของข้อมูลอยู่ในระดับ Moderate แต่หากมีการระบุอายุโคที่นำเข้าจากประเทศในกลุ่ม Controlled risk โคต้องอายุน้อยกว่า 30 เดือน และ Undetermined risk โคต้องอายุน้อยกว่า 12 เดือน ผลการประเมินความเสี่ยงอยู่ในระดับ High ความไม่แน่นอนของข้อมูลอยู่ในระดับ Moderate ถึงแม้จะกำหนดอายุโคแล้วก็ตาม หากเปรียบเทียบทั้งสองเหตุการณ์พบว่าระดับความเสี่ยงไม่แตกต่างกัน เนื่องจากผลการประเมินโอกาสพบความเสี่ยงการปนเปื้อน SRM ต่อมทอนซิลและลำไส้เล็กส่วนปลายอยู่ในระดับ High ดังนั้นในเงื่อนไขการนำเข้านอกจากจะกำหนดอายุโคที่นาเข้าจากกลุ่มประเทศที่มีสถานะความเสี่ยงโรควัวบ้าสูงกว่ากลุ่ม Negligible แล้ว ในเงื่อนไขการนำเข้าควรมีการระบุให้โคที่นำเข้าจากประเทศที่มีสถานะความเสี่ยงโรควัวบ้าสูงกว่ากลุ่ม Negligible ทุกช่วงอายุ ต้องตัดต่อมทอนซิลและลำไส้เล็กส่วนปลายออกและไม่ให้ปนเปื้อนเนื้อและเครื่องในที่นำเข้าประเทศไทย เพื่อลดความเสี่ยงในการนำเข้าเชื้อโรควัวบ้าจากการนำเข้าเนื้อและเครื่องในโคจากประเทศเบลเยี่ยมให้อยู่ระดับที่ยอมรับได้

 

คำสาคัญ : โรควัวบ้า การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพ การนำเข้า เนื้อ เครื่องในโค เบลเยี่ยม


ทะเบียนวิชาการเลขที่: 61(2)-0120-100

กองสารวัตรและกักกัน กรมปศุสัตว์

 

 

Qualitative Risk Assessment of Bovine Spongiform Encephalopathy of
the Importation of Beef and Beef Offal from Belgium

Lamai Nammongkol Naviya Ruksupap


Abstract


           Belgium has a demand to export beef and beef offal to Thailand. Even Belgium is a country officially recognized as having a negligible BSE risk status by the OIE but from the information from Belgium government, that Belgium had imported live cattle from France, UK and Ireland which their having a controlled BSE risk status of OIE. This will lead to a risk of specified risk material (SRM) contamination in a beef and beef offal manufacturing process of live cattle that imported from other countries with a different BSE risk status. The objective of this study is to assess the risk of BSE prion contamination in the beef and beef offal from Belgium to Thailand. The result of qualitative risk assessment of BSE of importation of edible beef and beef offal from Belgium showed that if the import requirement was not specified aging of cattle that imported from BSE controlled and undetermined risk countries entering to slaughterhouse, the levels of likelihood of release assessment was high with moderate uncertainty. If the import requirement was specified aging of cattle that imported from controlled risk countries, cattle need to have less than 30 months old and less than 12 months for undetermined risk countries, the levels of likelihood of release assessment was high with moderate uncertainty. However, even though the import requirement was specified aging of cattle, the level of likelihood was not different because the risk of tonsil and distal ileum contamination in beef and beef offal was high. Therefore, the import requirements should specify an aging of cattle imported from other countries than a negligible BSE risk status country and in every aging period of cattle imported from other countries than a negligible BSE risk status country have to remove and not contaminated with tonsil and distal ileum in beef and beef offal that import to Thailand. For the purpose of this requirement is a risk reduction measures for BSE prion contamination in the edible beef and beef offal imported from Belgium into the acceptable level.

 

Keyword: BSE, Qualitative risk assessment, Import, Beef, Beef offal, Belgium


Research Paper No: 61(2)-0120-100

Division of Veterinary Inspection and Quarantine, Department of Livestock Development

 

downdisk  เอกสารวิชาการ : การประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพของการนำเข้าโรควัวบ้า (Bovine spongiform encephalopathy (BSE))