การประเมินความเสี่ยงต่อโรคแอนแทรกซ์จากการนำเข้าหนังสัตว์ผ่านด่านกักกันสัตว์ลาดกระบัง

การประเมินความเสี่ยงต่อโรคแอนแทรกซ์จากการนำเข้าหนังสัตว์ผ่านด่านกักกันสัตว์ลาดกระบัง

เอกสารวิชาการ

เรื่อง

การประเมินความเสี่ยงต่อโรคแอนแทรกซ์จากการนำเข้าหนังสัตว์ผ่านด่านกักกันสัตว์ลาดกระบัง

 

ชาคริต ภูมิศรีจันทร์1 และ ลมัย นามมงคล2

 

บทคัดย่อ


ที่มาของการศึกษา : การศึกษาประเมินโอกาสที่จะเกิดการนำโรคแอนแทรกซ์เข้าสู่ประเทศไทยจากการนำเข้าหนังสัตว์ เพื่อประเมินความสอดคล้องกับมาตรการและเงื่อนไขที่กำหนดสำหรับการนำเข้าสินค้าที่ไม่ใช้เพื่อการบริโภคของกรมปศุสัตว์

วิธีการ : ใช้วิธีการประเมินความเสี่ยง วิเคราะห์แบบเชิงปริมาณและกึ่งเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลการนำเข้าหนังสัตว์ระหว่างปี พ.ศ.2557 - 59 ของด่านกักกันสัตว์ลาดกระบัง
ผล : ไทยนำเข้าหนังสัตว์เพื่อการอุตสาหกรรมฟอกหนังและผลิตเครื่องหนัง เป็นหนังฟอกจาก 26 ประเทศ เฉลี่ยปีละ 19,963.9 ตัน และหนังดิบจาก 44 ประเทศ เฉลี่ยปีละ 38,665.9 ตัน ในการชี้บ่งอันตรายพบว่าโรคแอนแทรกซ์มีศักยภาพอันเป็นอันตรายจากการนำเข้าหนังดิบ แบบจำลองการประเมินความเสี่ยงประกอบด้วยแขนงทางส่วนปล่อยอันตรายและส่วนรับอันตรายทั้งในคนและสัตว์ โอกาสปล่อยอันตรายประมาณได้จากความน่าจะเป็น ที่อย่างน้อยหนึ่งหน่วยปศุสัตว์นำเข้าจะเป็นโรค (PAE) โอกาสนำโรคของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน จากปริมาณนำเข้า และความชุกโรคต้นทาง ค่าเฉลี่ย PAE สูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และโคลัมเบีย (PAE=0.41 - 0.08) ซึ่งเป็นโอกาสนำโรคในระดับปานกลางจนถึงต่ำ ระยะเวลา ที่คาดหมายจะพบการนำโรคสำหรับ 5 ประเทศดังกล่าว อย่างเร็ว 1.5 - 5.5 ปี ถึงอย่างช้า 7.0 - 104.2 ปี การปล่อยและรับอันตรายทั้งในคนและในสัตว์มีโอกาสรวมอยู่ในระดับต่ำไปจนถึงต่ำมาก ถือว่ายังไม่อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างเต็มที่ แม้ว่ามาตรการเงื่อนไขที่กำหนดสำหรับการนำเข้าโดยทั่วไปมีเนื้อหาสอดคล้องกับการประเมินความเสี่ยง แต่ก็จำเป็นต้องมีมาตรการเฝ้าระวังป้องกันที่จำเพาะเจาะจงยิ่งขึ้นเพื่อลดโอกาส และจำกัดผลกระทบ
สรุป : การประเมินความเสี่ยงให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ หรือสามารถนำมาใช้สนับสนุน การกำหนดมาตรการเงื่อนไขนำเข้า การนำมาใช้ดำเนินการสำหรับสินค้าปศุสัตว์ชนิดอื่นจะทำให้มีการประยุกต์ใช้ที่กว้างขวางขึ้นและเกิดการพัฒนาขั้นตอนกระบวนการเฝ้าระวังให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : แอนแทรกซ์ หนังสัตว์ การประเมินความเสี่ยง การนำเข้า ด่านกักกันสัตว์ลาดกระบัง

 

ทะเบียนวิชาการเลขที่ 60 (2)- 0120 - 109
สถานที่ดำเนินการ ด่านกักกันสัตว์ลาดกระบัง
ระยะเวลาดำเนินการ มกราคม 2557 – ตุลาคม 2560
การเผยแพร่ เว็บไซต์ กองสารวัตรและกักกัน
http://aqi.dld.go.th/th/

 


Risk Assessment of Anthrax with the Importation of Animal Hides via Latkrabang Animal Quarantine Station

Chakrit Phumsrichun1 and Lamai Nammongkol2


Abstract


Backgrounds : The study aim to assessa likelihood of introducing anthrax from an infected hides via importation to Thailand. This study intended to evaluate the results from risk assessment with the measures and rules specified in the requirement for importation of inedible animal products of Department of Livestock Development.
Methods :The authors have used both the quantitative and semi–quantitative approaches
for risk assessment for 2014–16 import permit data of Latkrabang animal quarantine station.
Results : Thailand imported animal hides for tannery and leather industry. Bovine hides importation were tanned hides, wet blue hides 19,963.9 tonnes/year from 26 countries and
wet–salted raw hides 38,665.9 tonnes/year from 44 countries. Anthrax is considered to be a potential hazard from importation of raw hides. Risk assessment model consists of release and exposure scenarios in both human and animals. A Likelihood of exposure are estimated by calculation of probability that at least one animal import unit is infected (PAE). Risks of introduing disease are different with trade volume and disease prevalence in exporting countries. The 5 highest PAE are from America, Australia, Japan, Great Britain and Colombia (PAE= 0.41–0.08). The likelihood of entries from 5 countries are moderate to low with time expected that an incursion would have occurred from early in 1.5–5.5 years to later in 7.0–104.2 years. Overall likelihood of entry and exposure both in human and animals are low to very low which are still not in the most acceptable level of risks. Although measures and rules for importation are in comply with results of risk assessment, more specific surveillance and control measures are necessary to minimize likelihood of disease incursion and limit the consequences.
Conclusions : Risk assessment are informative, useful for veterinary authorities or to support in determination of measures and rules for importation. It could be used with other animal products for more wider application and improvement of surveillance protocols.
Key words : Bacillus anthracis, Animal Hides, Risk assessment, Anthrax, Importation, Latkrabang AQS. 


 Research no. 60(2)-0120-109
1. Latkrabang animal quarantine station, Division of animal quarantine and inspection, DLD, BKK.
2. Bangkok sea port animal quarantine, Division of animal quarantine and inspection, DLD, BKK.

 

downdisk   download เอกสารวิชาการ : การประเมินความเสี่ยงต่อโรคแอนแทรกซ์จากการนำเข้าหนังสัตว์ ผ่าน ด่านกักกันสัตว์ลาดกระบัง