การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณของการนำเข้าเชื้อไวรัสกาฬโรคแอฟริกาในม้า African Horse Sickness (AHS) ผ่านการนำเข้าม้าที่ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ

การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณของการนำเข้าเชื้อไวรัสกาฬโรคแอฟริกาในม้า African Horse Sickness (AHS) ผ่านการนำเข้าม้าที่ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ

เอกสารวิชาการ

เรื่อง

การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณของการนำเข้าเชื้อไวรัสกาฬโรคแอฟริกาในม้า African Horse Sickness (AHS)

ผ่านการนำเข้าม้าที่ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ

Quantitative risk assessment of introducing African horse sickness virus into Thailand by international equine movements via

Suvarnabhumi Airport Animal Quarantine Station


โดย

นางสาวนวิยา รักสุภาพ
นางสาวณัฐวดี ภมรานนท์

 


ทะเบียนวิชาการเลขที่ 60(2)-0120-108
สถานที่ดาเนินการ กองสารวัตรและกักกัน
ระยะเวลาดาเนินการ กรกฎาคม – ตุลาคม 2559
การเผยแพร่ เว็บไซต์ กองสารวัตรและกักกัน
http://aqi.dld.go.th/th/


 

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินความเสี่ยงของการนาเข้าเชื้อกาฬโรคแอฟริกาในม้า African Horse Sickness (AHS) เชิงปริมาณจากการนาเชื้อเข้าสู่ประเทศไทยผ่านการนาเข้าม้าจากต่างประเทศทางด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ ซึ่งไทยยังไม่เคยมีรายงานการเกิดโรค AHS มาก่อน ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะกาหนดเงื่อนการนาเข้าม้าจากต่างประเทศว่าต้องมาจากประเทศที่ปลอดโรค AHS ตามที่ OIE รับรองก็ตาม การศึกษาในครั้งนี้เป็นการประเมินความเสี่ยงในกรณีที่เกิดสถานการณ์เลวร้ายที่สุด (Worst case scenario) กรณีที่ประเทศต้นทางมีโรค และกาหนดให้ตรวจโรคด้วยวิธี Real-time RT-PCR ซึ่งเป็นวิธี gold standard ตามที่ OIE กาหนดใน OIE Terrestrial Animal Health Code ทั้งนี้ได้กาหนดคาถามความเสี่ยง (risk question) เป็นโอกาสในการนาเชื้อ AHSV เข้าสู่ประเทศไทยจากต่างประเทศผ่านด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิในระยะเวลาหนึ่งปี (ข้อมูลปี 2559) โดยการคานวณผ่านกระบวนการสโตแคสติก ด้วยแบบจาลองมอนติคาร์โล ผลการศึกษาพบว่าโอกาสที่เชื้อ AHSV จะเข้าสู่ประเทศไทยจากการนาเข้าจากต่างประเทศทางด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิในหนึ่งปีมีค่ามัธยฐานที่มีความเสี่ยงสูงเท่ากับ 5.99 x 10-4 (ค่าต่าสุดและค่าสูงสุดเท่ากับ 3.45 ถึง 1.44 x 10-3) และผลการวิเคราะห์ความไวของปัจจัยเสี่ยง (sensitivity analysis) พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทาให้ไวรัสโรคแอฟริกาในม้า African Horse Sickness (AHS) เข้าสู่ประเทศไทยมากที่สุดได้แก่ ความชุกของโรค African Horse Sickness ของประเทศต้นทาง และจานวนม้าที่นาเข้า ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการลดการนาเข้าของเชื้อไวรัส African Horse Sickness ได้แก่ ค่าความไว (sensitivity) ของวิธี Real-time RT-PCR ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นโอกาสของการปนเปื้อนเชื้อผ่านทางการนาเข้าม้าจากต่างประเทศทางด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิมีความเสี่ยงน้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม การทดสอบโรคทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธีที่ OIE กาหนดตาม OIE Terrestrial Animal Health Code ในกรณีที่ประเทศต้นทางมีโรคดังกล่าว จะช่วยลดความเสี่ยงในการนาเข้าม้าที่ที่มีการติดเชื้อ AHSV ให้น้อยลงได้ การดาเนินการตามมาตรการอื่นๆเช่น ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ การกักกันโรคตามระยะเวลาที่กาหนดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน และปฏิบัติตามข้อกาหนดเงื่อนไขการนาเข้าม้าของประเทศไทย จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ : โรคแอฟริกาในม้า ; การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ ; ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ; การนาเข้าม้าจากต่างประเทศ

ทะเบียนวิชาการเลขที่: 60(2)-0120-108
1 กองสารวัตรและกักกัน กรมปศุสัตว์
2 สานักควบคุมป้องกันและบาบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์

 

 

downdisk  download เอกสารวิชาการ : การประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณของการนาเข้าเชื้อไวรัสกาฬโรคแอฟริกาในม้า African Horse Sickness (AHS) ผ่านการนาเข้าม้าที่ด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ